วันจันทร์, 4 ธันวาคม 2566

ประวัติความเป็นมาเก้าอี้รถเข็นผู้สูงอายุ

26 ก.ค. 2016
18

 

เก้าอี้รถเข็นผู้สูงอายุ

เก้าอี้รถเข็นผู้สูงอายุ (Wheelchair) ในความหมายที่รู้จักกันในภาษาไทยมีอยู่หลายคำ เช่น เก้าอี้รถเข็น,เก้าอี้ล้อ,รถเข็นคนไข้,รถเข็นนั่ง หรือ รถเข็นผู้ป่วย ถือว่าเป็นพาหนะหรือเครื่องมือ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือการเคลื่อนไหว  ไม่ว่าจะเนื่องมาจากอายุ อาการเจ็บป่วย หรือ ความพิการ  การทำงานของเก้าอี้ล้อเข็น มีทั้งแบบที่ผู้นั่งเป็นผู้ควบคุมให้เก้าอี้ล้อเข็นเคลื่อนที่ไปได้เองด้วยการหมุนล้อหลัง หรือ การอาศัยผู้ช่วยเข็นทำการเข็นให้ นอกจารกนี้ยังมีเก้าอี้ล้อเข็นระบบไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานภายนอกในการขับเคลื่อน

โดยความเป็นมาของรถเข็นผู้ป่วยเท่าที่ปรากฎในหลักฐานภาพวาดบนกระถางของกรีก ตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งต่อมา อีก 300 ปี ก็พบหลักฐานว่าชาวจีนใช้รถเข็นล้อเดียว สำหรับการเคลื่อนย้ายคนพิการ รวมทั้งวัสดุสิ่งของที่มีนํ้าหนักมากเป็นครั้งแรก
ก่อนที่จะปรากฎเรื่องราวของเก้าอี้ล้อเข็น ในงานศิลปะของจีนราวคริสต์ศตวรรษที่ 525 ทั้งนี้ ยังพบภาพวาดขงจื๊อนั่งอยู่บนเก้าอี้ล้อเข็น ในราวปี 1680 อีกด้วย  นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่า ประมาณปี 1760 เริ่มมีการใช้พาหนะสำหรับคนป่วยกันแล้ว โดยในปี 1993 มีวิศวกรเครื่องยนต์สองคน ที่เป็นเพื่อนกัน คือ แฮร์รี่ เจ็นนิ่งส์ และ เฮอร์เบิร์ท เอเวอเรสท์ ถือเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จเป็นรายแรกในการสร้าง รถเข็นผู้ป่วยราคาถูก หรือ wheelchair ราคาถูก ที่ทำด้วยโลหะนํ้าหนักเบาชนิดพับเก็บได้ สำหรับจำหน่ายเป็นครั้งแรก เหตุผลที่สำคัญคือ เอเวอเรสท์
เคยหล้งหักจากอุบัติเหตุในการทำเหมืองแร่ จึงได้ทำขึ้นมาเพื่อใช้งาน ดังนั้นสองหนุ่มจึงกลายเป็นผู้ผลิตเก้าอี้ล้อเข็นรายใหญ่ในเวลาต่อมา

โดยทั่วไปรถเข็นผู้ป่วยชนิดที่ผู้นั่งใช้มือหมุนล้อ ให้ขับเคลื่อนไปได้เอง มีส่วนประกอบหลักๆ คือ ที่ นั่ง ที่วางเท้า ล้อเล็กๆสองล้อด้านหน้า และล้อใหญ่สองล้อด้านหลัง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ยตั้งแต่  20-24 นิ้ว (51-61 ซม.) มีขอบสำหรับมือจับเป็นโลหะหรือพลาสติค นอกจากนี้มักมีที่เข็น หรือมือจับเข็นอยู่ตรงส่วนบนของด้านหลังผู้นั่งเพื่อให้คนอื่นสามารถจับ เพื่อเข็นให้ได้ด้วย ที่จะแตกต่างไปจากนี้คือการ ปรับระบบจากของเดิมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น ขนาดที่นั่ง ความสูง ระดับมุมของที่นั่ง ที่วางขา พนักพิงแบบปรับได้และตัวควบคุม

การทำงานของรถเข็นผู้ป่วยล้อใหญ่ที่ผู้ใช้หมุนตล้อไปเองได้เอง ผู้ใช้จะเคลื่อนตัวรถไปโดยการผลัก หรือ หมุนที่หมุนล้อ หรือขอบของล้อหลังหรือล้ัอที่มีขนาดใหญ่  ที่หมุนล้อนี้จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่น้อยกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อยางเล็กน้อย ผู้ใช้ที่มีความชำนาญ  สามารถควบคุมความเร็วและ ควบคุมการหมุน  และสามารถเรียนรู้ที่จะรักษาสมดุลของเก้าอี้ให้อยู่บนล้อหลังได้  เช่น การยกหรือกระดกล้อหน้า

นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์เสริมที่เป็นตัวเล์อกซึ่งหาได้ทั่วไป อย่างเช่น ล้อกันพลิก (anti-tipping wheel)สายรัดเอว สายคาดอก พนักพิงปรับได้ เบรกมือ ลักษณะเฉพาะอื่นที่ช่วย ในการปรับเอน และหรือกระดกได้  เครื่องพยุงแขนขาหรือคอ ที่จับยึด อุปกรณ์ช่วยเดินหรือถังออกซิเจน หรือ ที่วางเครื่องดื่มเป็นต้น

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่วิถีทางของสังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลของสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ และสถาบันประชากรศาสตร์ ระบุไว้ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัตราเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เดินได้เองและต้องนั่งรถเข็นผู้ป่วย และ รถเข็นคนพิการ จากเดิมที่เคยมีอยู่เพียงร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ได้ขยับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12 ในปี 2552 หรือจำนวนประมาณ 7.71 ล้านคน ในขณะที่จำนวนประชากรทั้งประเทศอยู่ที่ราว 63.5 ล้านคน และยังมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุที่นั่งที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 3 ต่อปี เมื่อเทียบกับอัตราประชากรไทยที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปีและมีแนวโน้มลดลงอีก จะส่งผลให้ในปีพ.ศ.2563-2564 หรืออีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 12 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนเด็กเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้านโครงสร้างประชากรไทย และคาดกันว่าใน 25 ปีข้างหน้าหรือราวปี พ.ศ.2580 จำนวนผู้สูงอายุจะมีถึงร้อยละ 25.9 ของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงน้อยอยู่ที่ราว 65 ล้านคน โดยมีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากโครงสร้างประชากรและสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีลักษณะของครอบครัวเชิงเดี่ยวที่มีแต่พ่อแม่ลูกมากขึ้น ในอนาคตประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะเห็นผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพังและต้องช่วยเหลือตัวเองเท่าที่ทำได้ และผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่ยังต้องออกมาทำงานเลี้ยงตัวเองทั้งที่ปลดเกษียณจากงานแล้วหรือในอีกหลายๆรายที่ไม่มีระยะเวลาของการปลดเกษียณการทำงานในชีวิตเลยก็ตาม เมื่อผู้สูงอายุยังต้องออกนอกบ้านเพื่อไปทำกิจรรมต่างๆหรือไปทำงาน ความจำเป็นในการเดินทางก็ยังมีอยู่ เคยเดินทางไปทำงานแบบไหนก็ยังคุ้นชินที่จะเดินทางด้วยวิธีเดิมๆ เช่น เดิน ถีบจักรยาน นั่งรถโดยสาร ขับมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ หรือ นั่งรถเข็นผู้ป่วย เพราะฉะนั้น ต่อไปในอนาคตอันใกล้เราจะเห็นผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากสุขภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปออกมาใช้ถนนและขับรถเองมากขึ้นเรื่อยๆ ถนนสายสวัสดิภาพรู้สึกเป็นกังวลเล็กๆและอยากจะมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุที่ยังจำเป็นต้องออกมาโลดแล่นบนท้องถนนได้ตระหนักและให้ความใสใจดูแลร่างกายให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อให้การเดินทางออกนอกบ้านทุกครั้งเป็นไปด้วยความสะดวก ราบรื่นและปลอดภัยทั้งต่อตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน

ในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำให้ผู้สูงอายุต้องทำตามหลัก 6 อ คือ อย่าอ้วน อาหารครบหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่ารับสารอันตรายเข้าร่างกาย อย่าอดนอน และตรวจสภาพร่างกายเป็นประจำ

อุบัติเหตุนอกบ้าน

การเดินบนท้องถนน อุบัติเหตุอาจเกิดได้จากการหกล้มบนพื้นถนน หรือถูกยวดยานพาหนะชนขณะเดินข้ามถนน เนื่องจากสายตาไม่ดี หูได้ยินเสียงไม่ชัดเจน การตัดสินใจที่เชื่องช้าในการเดินหลบหลีกรถเป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ควรปฏิบัติดังนี้

สวมใส่รองเท้าชนิดหุ้มส้นที่มีขนาดพอดี ไม่หลวม

ข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย สะพานข้ามถนนหรือบริเวณสี่แยกไฟแดงขณะรถหยุด และต้องให้แน่ใจว่ามีเวลาพอในการข้ามถนน โดยคำนึงถึงความเร็วในการเดิน ถ้าไม่แน่ใจควรขอร้องให้ผู้อื่นช่วยในการเดินข้ามถนน

ผู้ที่เคลื่อนที่ได้ไม่ดีควรใช้รถเข็นผู้ป่วยการเคลื่อนที่ ราคารถเข็นผู้ป่วยไม่แพงมีหลายแบบหลายขนาดวิธีพับรถไม่ยาก

สะดวกต่อการงาน

กรณีถนนลื่น โดยเฉพาะหน้าฝน ต้องเดินด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ถ้าใช้ไม้เท้าในการช่วยเดิน ต้องแน่ใจว่าไม้เท้ามีความยาวที่พอดีและเหมาะสม มียางกันลื่นที่ปลายไม้เท้า

ระวังการใช้ร่มขณะเดินข้ามถนน ร่มอาจบังทำให้มองไม่เห็น และเกิดอุบัติเหตุได้ จึงควรใช้ร่มที่สามารถมองทะลุปีกร่มได้จะปลอดภัยกว่า

ถ้าเดินถนนเวลากลางคืน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว เพื่อให้คนขับมองเห็นได้ง่าย และควรมีไฟฉายติดตัวไว้เมื่อออกไปในที่มืดตอนกลางคืน

ถ้าผู้สูงอายุหูตึง การข้ามถนนจะต้องระมัดระวังมาก ต้องอาศัยสายตาช่วยดู และควรข้ามบริเวณทางม้าลาย สะพานทางข้ามถนน หรือสี่แยกไฟแดงจะปลอดภัยกว่า

การเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถ

โดยส่วนมากแล้วผู้สูงวัยมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถน้อยกว่าคนหนุ่ม ๆ สาวๆ สาเหตุก็เพราะว่าผู้สูงอายุมักจะขับรถช้ากว่า ประสบการณ์การขับรถก็ยาวนานกว่า มักคาดเข็มขัดนิรภัย และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ  แต่ก็มีข้อยกเว้นในผู้สูงอายุบางรายที่ยังคงเคยชินกับการขับรถเร็ว โอกาสเกิดอุบัติเหตุจะเพิ่มมากขึ้นกว่าคนหนุ่มสาว  โดยส่วนใหญ่ถ้าอายุเกิน 70 ปี โอกาสเกิดอุบัติเหตุจะเพิ่มมากขึ้นและยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากถ้าอายุเกิน 80 ปี  และถ้าเมื่อไรเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง จะเกิดการได้รับอันตรายมากกว่าและโอกาสถึงแก่ชีวิตสูงกว่าคนในวัยหนุ่มสาวถึง 9 เท่า

ส่วนต่างๆของร่างกายที่ต้องใช้ในการขับรถ

ในการขับรถต้องอาศัยกระบวนการทางร่างกายองค์ประกอบเหล่านี้ประกอบกัน คือ

สมองต้องแจ่มใส และไม่ขุ่นมัว

ต้องสมาธิและมีความตั้งใจดี

การตัดสินใจที่ฉับไวและมีความแม่นยำ

ความปราดเปรียว คล่องแคล่ว ว่องไว เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน

การทำงานประสานกันงานของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายเป็นอย่างดี อาธิเช่น ระหว่างมือ กับ แขนและ ขา คอ เป็นต้น

ต้องมีกำลังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพียงพอ

ควรการขยับส่วนต่างๆ ภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี เช่น แขน ข้อไหล่ ลำคอ เป็นต้น

ต้องมีการมองเห็นและการได้ยินที่ดีด้วย

ถ้าหากว่าเรามีความผิดปกติในร่างกายด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ทำไมผู้สูงวัยถึงได้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่รถยนต์ได้ง่าย

สาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถในผู้สูงอายุ คือ

อายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปี ขึ้นไป

มีปัญหาในด้านของการมองเห็น

มีสภาวะอาการสมองเสื่อม

คนสูงวัยมีภาวะต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของทางร่างกาย คือ พละกำลังกล้ามเนื้อลดลง มีความว่องไวในด้านการตอบสนองต่อสถานะการณ์คับขันได้ช้าลง การทำงานระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ประสานกันได้ไม่ดี และสมาธิยังลดลงไปด้วย และนอกจากนั้นยังเกิดความอ่อนล้าได้ง่ายถ้าต้องขับรถเป็นเวลานานๆ

โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในคนสูงวัยก็มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเช่นกัน โรคเด่นๆ ที่มีผลกระทบชัดเจน มีดังนี้

โรคเกี่ยวกับตาชนิดต่างๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทของตาเสื่อม ทำให้การขับรถในเวลาโพล้เพล้หรือแสงน้อยหรือตอนกลางคืนแล้วมองไม่ชัด  ในผู้ป่วยที่เป็นต้อหินยังอาจมีลานสายตาที่แคบทำให้สามารถมองเห็นภาพโดยรอบในด้านแนวกว้างได้ไม่ดีนัก  คนป่วยโรคต้อหินจะมองเห็นแสงไฟบอกทางต่างๆและไฟหน้ารถพร่าได้

โรคอาการสมองเสื่อม ในที่นี้หมายถึงเพิ่งจะเกิดขึ้นไม่มาก เพราะถ้าเป็นมากแล้วคงไม่มีใครยอมให้ขับขี่รถอีก หรือยานพาหนะ ในผู้ที่สมองเสื่อม มีอาการหลงลืม ทำให้ขับรถหลงทาง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูกได้ มีการตัดสินใจและสมาธิไม่ดี

โรคอัมพฤกษ์จากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากพอสมควรในผู้สูงวัย ทำให้แขนขาอ่อนแรงที่จะขับรถ หรือ  เหยียบคันเร่ง และ เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่ดี  บางคนมีอาการเกร็งมากเสียจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่งหรือการเหยียบเบรก บางกรณีมีการประสานการทำงานระหว่างแขน ขาไม่พอดี หรือสมองสั่งให้แขนขาทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ความไวในการตอบสนองกับเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง

โรคพาร์กินสัน จะมีอาการแข็งเกร็ง มือไม้สั่น บางทียังมีเท้าสั่นด้วย ทำอะไรได้เชื่องช้าลง ทำให้ขับขี่รถได้ไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ควรขับเองและควรมีรถเข็นผู้ป่วยพับได้ไปด้วยเวลาเดินทาง        โรคลมชัก ซึ่งพบได้ในคนชรามากกว่าคนในวัยหนุ่มสาว เมื่อมีอาการชักจะเกร็ง กระตุก ไม่รู้สึกตัว ทำให้มีการเกิดอุบัติเหตุได้

โรคไขข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่างๆ ที่มีผลกระทบในการขับขี่รถเช่น อาการข้อเข่าเสื่อม ทำให้การเหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ อาการข้อเท้าอักเสบ อาการปวดจากโรคเกาต์ ทำให้ขยับได้ลำบาก อาการโรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้มีอาการปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบากขึ้น หรือ มีอาการเจ็บปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อมลง ทำให้นั่งขับรถยนต์ได้ไม่นาน

สาเหตุโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจทำให้อาจมีอาการของการแน่นหน้าอกเมื่อขับรถเป็นเวลานานๆ การเครียดจาก รถติด โรคเบาหวานทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ ใจสั่น สมาธิไม่ค่อยดี ตาพร่ามัว ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง

ยา  ผู้สูงวัยส่วนมากต้องรับประทานยา  บางคนต้องรับประทานยาหลายชนิด บางชนิดมีผลทำให้เกิดการง่วงซึม เช่น ยาแก้เวียนศีรษะหน้ามืด ยาลดน้ำมูก ยานอนหลับ ยาช่วยคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทำให้เกิดอาการ ง่วงนอน

มึนงง สับสนในเวลาขับรถได้ และทำให้มีการตัดสินใจ และ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆไม่ดี

จะต้องทำอย่างไรถ้าหากยังต้องการขับรถเมื่ออายุมากแล้ว

ถ้าหากว่ามีโรคประจำตัว ควรมีการปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนว่าสามารถที่จะขับขี่รถได้หรือไม่ ในบ้านเรายังไม่มีผู้ที่ชำนาญการ และ ระบบในการประเมินความปลอดภัยของผู้ขับขี่ที่สูงวัย แพทย์ควรจะประเมินการมองเห็น  กำลังกล้ามเนื้อของร่างกาย  การทำงานที่สอดคล้องกันของแขนขา  การเกร็ง สั่นของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการมอง และ ประเมินกระดูก และ ข้อต่อ  ซักประวัติของการรับประทานยาชนิดต่างๆ และ การประเมินโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก ภาวะสมองเสื่อม โรคข้อเสื่อม เป็นต้น ว่าสามารถ เหมาะสมกับการขับรถหรือไม่

วิธีการปฏิบัติตัวให้มีความปลอดภัยเมื่อต้องขับขี่รถ

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมต่างๆของร่างกายในการขับขี่รถ  ที่สำคัญคือ การมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ ความสามารถต่างๆของสมอง และกระดูกและส่วนของข้อต่อ

ถ้าหากว่าเป็นไปได้ควรเลือกขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ เนื่องจากการขับสะดวกและใช้แรงน้อยกว่าเกียร์ธรรมดา และควรใช้รถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัย เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ควรหมั่นตรวจสอบสภาพรถ เครื่องยนต์ ระบบห้ามล้อต่างๆ ระบบไฟและอุปกรณ์ต่างๆของรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ อาธิเช่น ที่ปัดน้ำฝน กระจกบังลมที่หน้ารถ กระจกส่องหลัง ไฟหน้าและไฟท้าย เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารถเสียระหว่างทาง

ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการเดินทางหรือในขณะขับรถ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมีผู้พิการต้องใช้รถเข็นคนป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก  ตลอดจนหลีกเลี่ยงการทานยาต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม  มึนงง เมื่อต้องขับรถ

หลีกเลี่ยงการขับรถยนต์ในเส้นทางที่ไม่คุ้นชินคุ้นเคย ในชั่วโมงเร่งด่วน เนื่องจากจะมีปริมาณรถที่มาก ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง และขับรถทางไกลซึ่งต้องใช้เวลาในการขับขี่นานขึ้น ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและเกิดการง่วงหลับในได้ง่าย

หลีกเลี่ยงในการขับรถในช่วงเวลากลางคืน และรถที่ติดฟิล์มกรองแสงทึบมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน เนื่องจากจะทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน

หลีกเลี่ยงในการการขับขี่รถในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ใชช่วงฝนตกหนัก หมอกลงจัด พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น เนื่องจากทำให้วิสัยทัศการมองเห็นเส้นทางได้ไม่ดี หากจำเป็นต้องขับรถในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นควรจะต้องลดความเร็ว เพราะถนนจะลื่น เปิดไฟรถเมื่อเกิดทัศนวิสัยไม่ดี แม้ว่าจะเป็นเวลากลางวันก็ตาม

ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ทำการขับรถ เพื่อเป็นการป้องกันการกระทบกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้สูวัยมักจะมีการบาดเจ็บและกระดูกหักได้ง่ายมาก ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องนั่งรถเข็นผู้ป่วยหรือรถเข็นวีลแชร์ จากการถูกกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อย

ถ้าเป็นไปได้ ควรต้องมีคนนั่งรถไปด้วยเพื่อช่วยกันในการดูเส้นทาง และ สัญญาณไฟจราจรและดูรถ

ถ้าหากไม่แน่ใจว่าการขับรถด้วยตนเองจะปลอดภัย ควรงดขับ ให้คนอื่นขับรถแทนหรือเดินทางด้วยรถแท็กซี่จะให้สะดวกและปลอดภัยมากกว่า

ร้านขายเตียงผู้ป่วย ราคาถูก
ร้านขายเตียงผู้ป่วย ราคาถูก