อุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การที่เรานั้นสามารถที่จะป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ การเกิดอุบัติเหตุ นอกจากจะทำให้เกิดอันตรายจากการบาดเจ็บของร่างกายมีตั้งแต่ในระดับที่มีความรุนแรงเล็กน้อย จนถึงขั้นมีความรุนแรงมาก อันตรายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สามารถที่จะพบได้บ่อย คือ การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ ซึ่งการบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาการโดยรวมแย่ลง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ เช่น ศีรษะมีการกระแทกโดยตรง ทำให้เกิดรอยฟกช้ำ( Contussion ) หรือทำให้เกิดเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนัง (Hematoma )หรืออาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองในชั้นต่างๆ เช่น ชั้นเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ที่เรียกว่า Subdural Hemorrhage หรือในชั้นด้านในลึกลงไป เช่น Subarachnoid Hemorrhage ซึ่งอาการที่จะต้องมีการสังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อเกิดปัญหาอุบัติเหตุที่ศีรษะ คือ การสังเกตอาการทางสมอง อย่างน้อยอย่างใกล้ชิด 24 ชั่วโมงแรก เช่น อาการซึม สับสน อ่อนแรงครึ่งซีก อาเจียนพุ่ง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกเบื้องต้นว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมอง
การรักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ คือ การสังเกตอาการทางสมอง หากมีอาการผิดปกติแพทย์จะตรวจวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อเป็นการค้นหาความผิดปกติ เพื่อเป็นการค้นหาเบื้องต้นเป็นการประเมินการรักษาต่อไป เช่น เนื้อสมองมีเลือดออกหรือไม่ มีกระดูกใบหน้าหรือกะโหลกศีรษะมีการแตกหักหรือไม่ โดยการรักษาจะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการรักษาแบบประคับประคอง โดยแพทย์จะประเมินตามความจำเป็นในรายกรณี
ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะควรมีการสังเกตอย่างใกล้ชิดและพบแพทย์เพื่อสามารถที่จะรักษาได้ทันท่วงที