เมื่อทราบถึงประโยชน์ของเก้าอี้รถเข็นผู้ป่วยแล้ว ทราบหรือไม่ว่าใครบ้างที่ต้องใช้เก้าอี้รถเข็น สำหรับผู้ที่ต้องใช้เก้าอี้รถเข็นได้แก่ 1 ผู้สูงอายุ ซึ่งท่านอาจจะเดินระยะไกลไกลไม่ได้ 2 ผู้พิการหรือทุพพลภาพ 3 ผู้ป่วย ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยนั้นยังแยกเป็นอาการป่วยประเภทต่างๆด้วย สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยที่สมควรใช้เก้าอี้ล้อเข็นได้เป็นจำนวนมาก หากแต่คนกลุ่มนี้บางส่วน มักมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้เก้าอี้รถเข็นผู้ป่วย จึงเลือกที่จะไม่ออกจากบ้านไม่เข้าสังคม ทั้งที่คนกลุ่มนี้สามารถใช้เก้าอี้รถเข็นคนไข้ได้ และหากได้เปลี่ยนทัศนคติเรื่องการใช้เก้าอี้รถเข็น ยังจะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างชัดเจน ในกรณีผู้ป่วยนั้นโดยปกติแล้วแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด ซึ่งรับภารกิจในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยทางร่างกาย และผู้พิการ มีเป้าหมายในการสนับสนุนและผลักดันให้กลุ่มคนเหล่านี้ใช้เก้าอี้รถเข็นผู้ป่วย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด ซึ่งในผู้ที่สามารถใช้เก้าอี้รถเข็นได้นั้นมีดังต่อไปนี้ 1 ผู้ทุกพลภาพ 2 ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ 3 ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บไขสันหลังระดับอกและเอว 4 ผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอ 5 ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บทางสมอง 6 ผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคปวดข้อปวดกระดูก โรคพาร์กินสันเป็นต้น ใช้ในกรณีที่ต้องเดินทางไกล 7 ผู้ป่วยเด็ก เฉพาะพิการทางสมองกล้ามเนื้อเกร็ง 8 ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ซึ่งจะใช้เก้าอี้ล้อเข็นชั่วคราว สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์และนักกายภาพบำบัดจะลงความเห็นไม่ให้ใช้เก้าอี้ล้อเข็นมีเพียง 2 กรณีเท่านั้นคือ 1 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ 2 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำซึ่งจะมีอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะอาจทำให้เกิดอันตรายตามมาได้